ตำบลขุนทะเล

ประวัติความเป็นมา

องค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเลเดิมมีการปกครองท้องที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ 2457 มีเพียง 3 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่ที่ 1 บ้านน้ำซับ หมู่ที่ 2 บ้านท่าไม้เหลี่ยม หมู่ที่ 3 บ้านดอนเกลี้ยง ต่อมาประมาณปีพุทธศักราช 2486 กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ได้เข้ามาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองขุนทะเล เพื่อจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่ราษฎร ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมเพื่อเป็นกฎหมายรับรองอาณาเขต เมื่อปีพุทธศักราช 2518 พื้นที่ประมาณ 37,070 ไร่ และได้ตัดเส้นทางคมนาคมสายหลัก คือ ถนนสุราษฎร์-นาสาร ผ่านกลางตำบลขุนทะเลตลอดแนว พร้อมทั้งได้จัดตั้งหมู่บ้านใหม่ เป็นหมู่ที่ 4 บ้านควนยูง หมู่ที่ 5 บ้านซอย 10 เมื่อ พ.ศ. 2504 ตั้งแต่พุทธศักราช 2486 กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยได้เข้ามาจัดสรรที่ดินในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและใกล้เคียง เข้ามาอยู่อาศัยโดยจัดแบ่งให้ครอบครัวละ 25 ไร่ โดยถือครองที่ดินอยู่เดิม 1,393 ราย ในปี 2546 มีครอบครัวขยายเป็น 3,000 ราย และครอบครัวแฝง 2,000 ราย เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงได้จัดแบ่งเขตหมู่บ้านออกเป็น หมู่ที่ 4 บ้านควนยูง หมู่ที่ 5 บ้านซอยสิบ เมื่อ พ.ศ. 2504 และเปลี่ยนบ้านน้ำซับเป็นบ้านนิคม หมู่ที่ 1 เมื่อประมาณปี 2517 ได้แยกหมู่ที่ 2 บ้านท่าไม้เหลี่ยม ออกเป็นหมู่ที่ 6 บ้านห้วยเสียน และตั้งชื่อ หมู่ที่ 2 ใหม่เป็นบ้านท่าอู่ตำบลขุนทะเล ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน

พื้นที่

องค์การบริหารส่วนตำบลขุนทะเลมีจำนวนเนื้อที่ทั้งหมด จำนวน 45,382 ไร่ หรือประมาณ 98 ตารางกิโลเมตร ในจำนวนเนื้อที่ทั้งหมดมีการทำการเกษตร จำนวนพื้นที่ 39,508 ไร่

เขตพื้นที่

ทิศเหนือ ติดกับ เทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี , อบต.มะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศใต้ ติดกับ อบต.ทุ่งเตาใหม่ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันออก ติดกับ อบต.ทุ่งรัง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันตก ติดกับ อบต.วัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

อาชีพ

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยเฉพาะการทำสวนยางพาราซึ่งมีมาเป็นอันดับ 1 ส่วนการปลูกไม้ผล เช่น ทุเรียน , ชมพู่ , ฝรั่งกระท้อน , มะพร้าว และปาล์มน้ำมัน ลดหลั่นตามลำดับ นอกจากนั้นยังมีการปลูกผักอยู่บ้างกระจายอยู่ทั่วทุกหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีอาชีพค้าขาย รับจ้าง และข้าราชการ ซึ่งมีส่วนราชการอยู่หลายหน่วยงานในเขตพื้นที่ โดยเฉลี่ยแล้วประชากรมีรายได้ประมาณ 15,000.- บาท/ปี

สาธารณูปโภค

มีระบบสาธารณูปโภคครบถ้วน

การเดินทาง

การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4009 จากเขตเทศบาลเมือง ถนนสายสุราษฎร์ธานี – นาสาร ถึงตำบลขุนทะเล ระยะทางจากที่ว่าการอำเภอถึงตำบลขุนทะเลประมาณ 10 กม.

ผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์จักสานจากเชือกกล้วย, ไวน์ผลไม้


หมวก (เชือกกล้วย)

ตะกร้าเชือกกล้วย