วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Master of Science Program
มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านการผลิตพืช สัตว์ และเทคโนโลยีจุลินทรีย์ ที่มีความสามารถ ในการทำงานให้กับหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงมีความสามารถในการจัดการฟาร์มอย่างอัจฉริยะ (Smart Farming) มีทักษะการเป็นเกษตรกรมืออาชีพ และมีความพร้อมเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรอย่างยั่งยืน โดยอาศัยความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารจัดการ มีทักษะการสื่อสาร มีความรู้คู่คุณธรรม สามารถบูรณาการความรู้ที่ได้เรียนมาใช้ประโยชน์เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ และใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างยั่งยืน หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร แบ่งออกเป็น 3 วิชาเอก (Clusters) โดยมีจุดเน้น
แบ่งเป็น 3 กลุ่มวิชา ได้แก่
1. วิชาเอกเทคโนโลยีการผลิตพืช (Plant Production Technology) เน้นการนำเอาองค์ความรู้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และการบริหารจัดการ มาบูรณาการและประยุกต์ใช้ร่วมกับการทำฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ เพื่อการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มของพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน ยางพารา ไม้ผลเขตร้อน ไม้ดอก ไม้ประดับ และพืชผักต่าง ๆ
2. วิชาเอกเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ (Animal Production Technology) เน้นการนำเอาองค์ความรู้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และการบริหารจัดการ มาบูรณาการและประยุกต์ใช้ร่วมกับการทำฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ เพื่อการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มของสัตว์เศรษฐกิจ
3. วิชาเอกเทคโนโลยีจุลินทรีย์ (Microbial Technology) เน้นการนำเอาองค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางด้านการเกษตรและด้านจุลินทรีย์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและพัฒนาคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. ผู้ประกอบการ ได้แก่ ผู้ประกอบการฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ และผู้ประกอบการด้านการเกษตรทั่วไป
2. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาคเอกชน ได้แก่ ผู้จัดการฟาร์ม นักวิชาการในธุรกิจการผลิตพืช นักวิชาการด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม นักวิชาการประจำโรงงานผลิตอาหารสัตว์ พนักงานขายอุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร นักวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา พนักงานประจำห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
3. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ นักวิชาการเกษตร (ด้านพืช สัตว์และจุลินทรีย์) เจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
4. ครูและอาจารย์ในสถาบันการศึกษา
5. ศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะและศักยภาพทางด้านทรัพยากรประมง รวมไปถึง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยบูรณาการศาสตร์ (Multi disciplinary) งานวิจัยและองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง สามารถประยุกต์ใช้โดยมีสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญในคุณค่าของทรัพยากรประมงที่เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืน นำไปประกอบวิชาชีพอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม โดยมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการเชิงพื้นที่ภาคใต้ เพื่อคงไว้ซึ่งความมั่นคงทางด้านอาหารและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมงของประเทศ อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
หลักสูตรสาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและทรัพยากรประมง
หลักสูตรปริญญาโท (นานาชาติ)
รหัสหลักสูตร 25570101104954
ชื่อภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและทรัพยากรประมง (หลักสูตรนานาชาติ)
ชื่อภาษาอังกฤษ Master of Science Program in Aquaculture and Fishery Resources (International Program)
หลักสูตรปริญญาโท
ชื่อเต็ม วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและทรัพยากรประมง)
Master of Science (Aquaculture and Fishery Resources)
ชื่อย่อ วท.ม. (การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและทรัพยากรประมง)
M.Sc. (Aquaculture and Fishery Resources)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
– แผน ก แบบ ก 1 ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
– แผน ก แบบ ก 2 ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
* แบบ ก 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการทําวิจัยโดยมีการทําวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว
* แบบ ก 2 เป็นแผนการศึกษาที่กำหนดให้มีการลงทะเบียนเรียนรายวิชาเรียนต่าง ๆ และมีการทำวิจัย เพื่อวิทยานิพนธ์
ด้านต่าง ๆ ของงานวิจัยในหลักสูตรสำหรับการทำวิทยานิพนธ์
1) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquaculture) ซึ่งมีองค์ประกอบเป็น การเพาะเลี้ยง อาหารสัตว์น้ำ การปรับปรุงพันธุ์ โรคสัตว์น้ำ การจัดการฟาร์ม และคุณภาพสัตว์น้ำ
2) วิศวกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquaculture engineering) ซึ่งรวมทั้งระบบที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและระบบการบำบัดน้ำ (Water treatment system)
3) การแปรรูปสัตว์น้ำ (Aquatic animal processing) ซึ่งรวมถึงความปลอดภัยของอาหารทะเล (Seafood safety) ตั้งแต่กระบวนการผลิตต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ (Farm-to-table)
4) ธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquaculture business) ได้แก่ การบริหารจัดการฟาร์ม เศรษฐศาสตร์การตลาด และการประกอบการและการจัดการธุรกิจด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
5) ทรัพยากรประมง (Fishery Resources) ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศทางทะเลและความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลที่ต้องได้รับการอนุรักษ์
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
2. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาคเอกชนได้แก่ นักวิชาการประมง นักวิชาการประมงทะเล นักวิชาการประจำห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ นักวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตประจำโรงงานแปรรูปอาหารทะเล
3. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ นักวิชาการประมง นักวิชาการประจำห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
4. อาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษา
5. ศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา