ประวัติความเป็นมา
เนื่องจากเป็นท้องที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และแร่ธาตุ จึงมีประชากรต่างถิ่นเคลื่อนย้ายมาตั้งบ้านเรือนทำมาหากิน เช่น ทำกิจการประมง ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ ทำให้ตำบลดอนสักมีประชากรหนาแน่น การค้าเจริญ รุ่งเรือง เศรษฐกิจโดยร่วมดีขึ้นตามดำดับ พร้อมทั้งยังเป็นที่ตั้งของส่วนราชการและสถานศึกษา ด้วยองค์ประกอบดังกล่าวในปี พ.ศ. 2542 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง เทศบาลตำบลดอนสัก ขึ้น เพื่อความสะดวกในบริหารและการปกครอง ต่อมาเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลดอนสักเป็น เทศบาลเมืองดอนสัก
พื้นที่
ลักษณะของพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขา มีภูเขา ภายในบริเวณเขตเทศบาล มีลำห้วยหลายแห่งและมีลำคลองดอนสักกว้างไหลผ่านกลางตัวเมืองจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก พื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบ ส่วนที่ราบสูงมีเพียงเล็กน้อย
พื้นที่ของเขตเทศบาลเมืองดอนสัก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวจังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้รับอิทธิพลจากลมสรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากมหาสมุทรอินเดีย จึงทำให้มีช่วงฤดูฝนที่ยาวนาน ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนมกราคม
เขตพื้นที่
เทศบาลเมืองดอนสักตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครทางรถยนต์ 690 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ คือ
ทิศเหนือ ติดกับ เทศบาลต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี
ทิศใต้ ติดกับ อบต.ปากแพรก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันออก ติดกับ อบต.ควนทอง อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช
ทิศตะวันตก ติดกับ อบต.ไชยคราม อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี
อาชีพ
อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน ทำประมง
อาชีพเสริม เลี้ยงไก่พื้นบ้าน
สาธารณูปโภค
จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 1,400 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 90.00 จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 28 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 3.00 ของจำนวนหลังคาเรือน
การขนส่ง
เทศบาลเมืองดอนสัก มีความสะดวกในการคมนาคมขนส่งติดต่อทั้งภายในเขตเทศบาลและตำบลใกล้เคียง ตลอดจนอำเภอและจังหวัดอื่น ๆ โดยทางรถยนต์และทางเรือ
- ทางรถยนต์ โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4142 ไปอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอขนอม
- ทางเรือ ในเขตเทศบาลเรือโดยสารและมีสถานีรับ – ส่ง ผู้โดยสารถึง 2 สถานี คือ ท่าเรือเฟอร์รี่และท่าเรือซีทรานเฟอร์รี่
ผลิตภัณฑ์
อาหารแปรรูปจากสัตว์น้ำ
กุ้งแห้ง | ปลาอบมะนาว | หมึกสามรส |