โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมันแบบยั่งยืนแบบบูรณาการ

สนับสนุนการวิจัยโดย สำนักงานวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ทำวิจัยโดย ผศ.ดร.เบญจมาภรณ์ พิมพา และ คณะ

บทเรียนออนไลน์สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานกลุ่ม โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม โรงงานในห่วงโซ่อุปทาน และผู้สนใจทั่วไป

ระบบฐานข้อมูลกลุ่มผู้ผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน

ตัวอย่างสมุดบันทึกสวนปาล์ม

ขั้นตอนการใช้ระบบฐานข้อมูล

วิดีโอประกอบการฝึกอบรม

กิจกรรมในโครงการ

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ผศ.ดร.เบญจมาภรณ์ พิมพา ฝึกอบรมเรื่องการตรวจติดตามภายในมาตรฐาน RSPO สำหรับเกษตรกรรายย่อย ให้แก่คณะกรรมการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน RSPO ณ.ห้องประชุม บริษัทเอเซียนน้ำมันปาล์ม จำกัด ต.อ่าวลึกใต้ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566  ผศ.ดร.เบญจมาภรณ์ พิมพา ตรวจประเมินเบื้องต้น โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ บริษัทตรังน้ำมันปาล์ม จำกัด เพื่อเตรียมตรวจรับรองมาตรฐาน RSPO Supply Chain การทำมาตรฐานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการรับซื้อผลปาล์มสดจากกลุ่ม RSPO และจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบและเมล็ดในปาล์มไม่ให้เกินกว่าที่ได้รับซื้อ โดยมีการตรวจประเมินความพร้อมของลานเทรับซื้อปาล์ม ตาชั่งผลผลิต กระบวนการผลิต การจัดจำหน่าย ด้านการฝึกอบรมบุคลากรของบริษัท และความพร้อมด้านการจัดทำเอกสารและบันทึกข้อมูล
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2566 ผศ.ดร.เบญจมาภรณ์ พิมพา เป็นวิทยากรฝึกอบรมทบทวนมาตรฐาน RSPO ประจำปีให้แก่สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปาล์มแปลงใหญ่ ต.คลองน้อย จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งจัดกิจกรรมโดยสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และให้คำปรึกษาเรื่องการจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดของมาตรฐาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการตรวจรับรองมาตรฐานปีที่ 1
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2566 ผศ.ดร.เบญจมาภรณ์ พิมพา เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มผู้ผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน (กลุ่ม RSPO) สหกรณ์นิคมหลังสวน จำกัด อ.หลังสวน จ.ชุมพร ซึ่งมีการประชุมและฝึกอบรมประจำปี นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการตรวจการปนเปื้อนสารเคมีในเลือดของสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน ในการนี้ ผศ.ดร.เบญจมาภรณ์ พิมพา ได้ให้คำปรึกษาเรื่องการแบ่งผลประโยชน์จากการขายสิทธิ์ผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มที่ผลิตอย่างยั่งยืนในระบบ Palmtrace กลุ่มฯอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมในการตรวจรับรองกลุ่มปีที่สอง ที่อาคารหอประชุม สหกรณ์นิคมหลังสวน จำกัด
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 ผศ.ดร.เบญจมาภรณ์ พิมพา ฝึกอบรมเรื่องมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนสำหรับเกษตรกรรายย่อย (RSPO) และขั้นตอนการขอการรับรอง ให้แก่ สหกรณ์นิคมปลายพระยา จำกัด  สหกรณ์นิคมปากน้ำ จำกัด สหกรณ์กองทุนสวนยางน้ำจานสามัคคี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่และผลิตปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน RSPO ที่ห้อง UD 262 อาคารเรียนรวม  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
วันที่ 18 ตุลาคม 2566 ผศ.ดร.เบญจมาภรณ์ พิมพา และ ผศ.ดร.วิบูลย์ ป้องกันภัย ให้คำปรึกษาระบบการซื้อขายปาล์มและระบบควบคุมคุมภายในกลุ่มแก่กลุ่มผู้ผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน ต.อ่าวลึก จ.กระบี่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากบริษัทเอเซียนปาล์มน้ำมัน จำกัด และให้คำปรึกษาระบบการซื้อขายปาล์มแก่ กลุ่มบริษัท ศรีวิชัยปาล์ม จำกัด (มหาชน) จ.สุราษฎร์ธานี
เมื่อวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2566 ผศ.ดร.เบญจมาภรณ์ พิมพา เข้าร่วมงานประชุมประจำปีองค์กรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน (RSPO) ณ. โรงแรมมูเลีย ซิลายัน เมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และเป็นปีที่องค์กร RSPO ฉลองการครบรอบ 20 ปีของการดำเนินงาน  ในปีนี้มีกลุ่มเกษตรกรจากประเทศไทยที่ได้เข้ารับใบรับรองในพิธีการมอบใบรับรอง จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตปาล์ม RSPO ท่าแซะ และ สหกรณ์นิคมหลังสวน จำกัด โดยทั้งสองกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี สำนักงานวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) โครงการ ITAP และกรมส่งเสริมสหกรณ์  ในโอกาสนี้โครงการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรรายย่อยโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีและสหกรณ์นิคมพนม จำกัด ได้ผ่านเข้ารอบคัดเลือกสามองค์กรที่มีการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรรายย่อย (Smallholder Impact Award) จากหน่วยงานที่เข้าร่วมการคัดเลือกรางวัลประเภทต่างๆมากกว่า 40 องค์กรทั่วโลก นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมอบรมระบบ Palmtrace และกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ลาตินอเมริกา และ แอฟริกา
วันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2566 ผศ.ดร.เบญจมาภรณ์ พิมพา เข้าร่วมประชุมประจำปีองค์กร RSPO ที่โรงแรมมูเลีย  ซิลายัน เมืองจากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย และเป็นปีที่องค์กร RSPO ฉลองครบรอบ 20 ปี ของการดำเนินงาน ในปีนี้มีกลุ่มเกษตรกรจากประเทศไทยที่ได้เข้ารับใบรับรอง จำนวน 2 กลุ่ม  ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตปาล์ม RSPO ท่าแซะ และ สหกรณ์นิคมหลังสวน จำกัด โดยทั้งสองกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี สำนักงานวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) โครงการ ITAP และกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในโอกาสนี้โครงการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรรายย่อยโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีและสหกรณ์นิคมพนม จำกัด ได้ผ่านเข้ารอบคัดเลือกสามองค์กรที่มีการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรรายย่อย (Smallholder Impact Award) จากหน่วยงานที่เข้าร่วมคัดเลือกรางวัลประเภทต่างๆมากกว่า 40 องค์กรทั่วโลก นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมอบรมระบบ Palmtrace และกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ลาตินอเมริกา และแอฟริกา
วันที่ 2 ธันวาคม 2566 ผศ.ดร.เบญจมาภรณ์ พิมพา เข้าร่วมงานประชุมประจำปีและฝึกอบรมทบทวนมาตรฐาน RSPO สำหรับเกษตรกรรายย่อย กลุ่มผู้ผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนปาล์มทองคำ ณ สนามชนโคพระแสง คอมเพลกซ์  ต.สินปุน อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี โดยได้รับเกียรติจาก สว.สำราญ ครรชิต เป็นประธานเปิดการประชุม
เมื่อวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2566 โครงการพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมันแบบบูรณาการแบบยั่งยืน และโครงการขยายผลการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนแบบบูรณาการสู่กลุ่มเกษตรกรรายย่อยได้ร่วมจัดแสดงนิทรรศการในงาน 20 ปี สวก. ในธีมงาน “เปลี่ยนวิถีเกษตรกรไทย ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม AgriTech and Innovation (Moving forward: from Local to Global) ณ. ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยในงานนี้ ผศ.ดร.เบญจมาภรณ์ พิมพา ได้รับเกียรติบัตร รางวัลนักวิจัยดีเด่นประจำปี พ.ศ.2566 รางวัลชมเชย จาก สำนักงานวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 โดยมีตัวแทนเข้าร่วมนำเสนอผลงานจากสหกรณ์นิคมพนม จำกัด ได้แก่ นายธวัช ล่าสกุล (ผู้จัดการสหกรณ์นิคมพนม จำกัด) และ นายมาโนชย์ พลายสวัสดิ์ (ฝ่ายสิ่งแวดล้อม)