FISHERY RESOURCES
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะและศักยภาพทางด้านทรัพยากรประมง รวมไปถึง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยบูรณาการศาสตร์ (Multi disciplinary) งานวิจัยและองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง สามารถประยุกต์ใช้โดยมีสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญในคุณค่าของทรัพยากรประมงที่เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืน นำไปประกอบวิชาชีพอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม โดยมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการเชิงพื้นที่ภาคใต้ เพื่อคงไว้ซึ่งความมั่นคงทางด้านอาหารและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมงของประเทศ อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
2. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาคเอกชน ได้แก่ นักวิชาการประมง นักวิชาการประมงทะเล นักวิชาการประจำห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ นักวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตประจำโรงงานแปรรูปอาหารทะเล
3. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ นักวิชาการประมง นักวิชาการประจำห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
4. อาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษา
5. ศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา